เตือน! ไม่จำเป็นอย่ากินฟ้าทะลายโจร อาจจะบดบังอาการโควิด-19


ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ประชาชนต่างหาทางป้องกันตนเอง ทั้งหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และก่อนหน้านี้ เคยมีกระแสออกมาว่าการกินฟ้าทะลายโจร จะช่วยป้องกันร่างกายไม่ให้ติดเชื้อได้ง่ายๆ จนมีคนแห่ไปซื้อมากิน ทั้งแบบแคปซูลและแบบสด จนสินค้าขาดตลาด

ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Saly Ipunyawee ได้ออกมาแจ้งเตือน สำหรับคนที่กินฟ้าทะลายโจร ซึ่งเมื่อกินเข้าไปแล้วอาจจะบดบังอาการไข้ หากใครที่ติดโควิด-19 ก็อาจจะไม่แสดงอาการให้เรารู้ตัว โดยได้ระบุข้อความดังนี้

ฟ้าทลายโจร ไม่จำเป็นอย่ากิน!! #ฟ้าทะลายโจรอาจบดบังอาการไข้ของโควิด-19 ข้อมูลนี้รวบรวมมา 4 วัน เครดิต : Walinda Chantaranothai เภสัชกร รพ.มหาราช Koi Krisyanan ช่วงนี้ได้รับคำถามเยอะเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรว่า ใช้ป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่?

คำตอบ : มีเพียงข้อมูลจากสิทธิบัตรของจีนที่ระบุว่าสารสำคัญ diterpene ในฟ้าทะลายโจร จากงานวิจัยในหลอดทดลองมีฤทธิ์ต้าน coronavirus ดังนั้นจึงต้องรองานวิจัยในคนยืนยันผลต่อไป

ในภาวะที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากสัมผัสผู้ป่วยทุกวันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งขาดแคลนหน้ากากอนามัย นอกจากวัดไข้เป็นประจำ รับประทานอาหาร (กินส้มเยอะๆ) และพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว

เมื่อป่วยต้องหยุดงาน ถ้าจำเป็นจริงๆ และไม่มีทางเลือกอื่น ฟ้าทะลายโจรอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งในการใช้ (แม้ไม่ทราบว่าได้ผลไหม) แนะนำให้ใช้ขนาดสูงสุด รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังช่วงที่มีการสัมผัสกลุ่มเสี่ยงสูง เป็นเวลา 1 เดือน

ข้อควรระวังคือ ฟ้าทะลายโจรอาจบดบังอาการไข้ของโควิด-19 ดังนั้นควรชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และโทษที่จะได้รับ ก่อนตัดสินใจใช้ ถ้าไม่ได้สัมผัสผู้ที่ป่วยหรือเสี่ยงสูง ไม่จำเป็นต้องใช้ อาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เสียเงินเปล่า และทำให้คนที่จำเป็นต้องใช้ไม่มีใช้

ไม่แนะนำให้ใช้สำหรับผู้ที่จะไปเที่ยวประเทศเสี่ยง เนื่องจากเชื้อเยอะ ฟ้าทะลายโจรเอาไม่อยู่แน่ ถ้าป่วยมีไข้ ให้ใส่หน้ากากอนามัยแล้วไปพบแพทย์ด่วน อย่ารอโดยใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะประสิทธิผลไม่น่าจะพอสำหรับใช้รักษา และเสี่ยงแพร่เชื้อให้ผู้อื่น

ข้อควรระวังในการใช้ฟ้าทะลายโจร

ตอนนี้กระแสอะไรออกมา ประชาชนก็อาจจะหลงเชื่อได้ง่ๅยๆ เพราะต้องการที่พึ่งในการป้องกันโรค แต่ก็ต้องดูกันด้วยค่ะว่า อันไหนได้ผลดีจริงๆ หรือส่งผลเสียมากกว่ากัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Saly Ipunyawee